การทำ ”โลโก้” บนหมวกพรีเมี่ยม

การทำ โลโก้ บนหมวกพรีเมี่ยม

การทำโลโก้บนหมวก สามารถทำได้ทั้งงาน สกรีน  งานปัก และการติดป้ายแท็ก ขึ้นอยู่กับรูปแบบโลโก้ของลูกค้า การใช้งาน และชนิดของหมวก

งานสกรีนหมวก

งานสกรีนหมวก

งานสกรีนหมวก ใช้เทคนิคการสกรีนทั่วไป คือมีการขึ้นบล็อกโลโก้ที่ต้องการสกรีน หมวกเป็นสินค้าที่มีขนาดค่อนข้างเล็ก และมีความโค้ง จึงมีข้อจำกัดในการสกรีนค่อนข้างมาก เนื่องจากการประกอบตัวหมวกเป็นการเย็บกลีบหมวกแต่ละกลีบเข้าด้วยกัน การสกรีนจึงไม่เหมาะกับโลโก้ที่มีขนาดใหญ่ มีลายต่อกันระหว่างกลีบหมวก เพราะอาจทำให้ลายต่อกันไม่สนิทเกิดความเหลื่อมของโลโก้ได้ หากต้องการสกรีนโลโก้ต้องมีขนาดกว้างไม่เกิน 8 ซม. หรือกว้างไม่เกินขนาดของกลีบหมวก และสกรีนด้านหน้าหมวก 5 ชิ้น การสกรีนโลโก้จึงนิยมสกรีนบนหมวก 5 ชิ้นบริเวณกลีบหมวกด้านหน้า

งานปักหมวก

งานปักหมวก

งานปักหมวก เป็นเทคนิคการทำโลโก้ที่นิยมเป็นอย่างมาก งานปักนอกจากจะให้ความรู้สึกสวยงามแล้ว ยังให้ความรู้สึกหรูหรา ชิ้นงานดูมีมูลค่ามากยิ่งขึ้น งานปักเป็นงานที่ละเอียดอ่อนส่วนสำคัญอยู่ที่การขึ้นแบบโลโก้ในโปรแกรมปัก การปักโลโก้หมวกสามารถทำได้สูงถึง 5 ตำแหน่ง คือ ด้านหน้าหมวก ด้านข้าง (ซ้าย-ขวา) ด้านหลังหมวก และปีกหมวก ขึ้นอยู่กับแบบงานของลูกค้า โลโก้ที่มีรายละเอียดมาก ขนาดใหญ่ หรือจำนวนสีเยอะ ก็จะยิ่งใช้ระยะเวลาในการทำโลโก้นานตามไปด้วย ในการปักตัวอักษรลงบนชิ้นงาน ขนาดความสูงของอักษรไม่ควรเล็กกว่า 0.5 ซม. และขนาดโดยรวมไม่ควรเกินหน้าหมวก ซึ่งหมวกแต่ละชนิดก็จะมีขนาดหน้าหมวกที่แตกต่างกันออกไป ในงานปักสามารถแบ่งประเภทการปักได้ 2 ชนิด คือ การปักเรียบ และปักนูน

งานปักเรียบ
  • การปักเรียบ คือการปักโลโก้ลงบนชิ้นงาน หรือสินค้าโดยตรง อาจมีความนูนที่เกิดจากการซ้อนกันของส้นด้ายเล็กน้อย จนดูเหมือนเป็นระนาบเดียวกันกับชิ้นงานที่นำมาปัก เราสามารถเห็นการปักแบบนี้ได้ในชีวิตประจำวันทั่วไป เช่น การปักเสื้อนักเรียน
งานปักนูน
  • การปักนูน คือการปักโลโก้ลงบนชิ้นงานหรือสินค้าโดยผ่านตัวกลาง นั่นก็คือโฟม หรือจะอธิบายง่ายๆก็คือ การปักนูนเป็นรองโฟมเข้าไปด้านในระหว่างเส้นด้านกับหมวก เพื่อให้โลโก้ดูมีมิติ เพิ่มความโดนเด่นให้โลโก้ การปักแบบนี้นิยมทำเพื่อการตกแต่งโดยเฉพาะ จึงไม่สามารถพบเห็นทั่วไปตามโอกาสต่างๆได้มากนัก
การติดป้ายแท็ก-หรือ-Label

การติดป้ายแท็ก

การติดป้ายแท็ก หรือ Label คือการทำโลโก้แยกจากตัวสินค้าแล้วนำมาเย็บติดกับสินค้าภายหลัง เทคนิคการทำและชนิดผ้าที่ใช้ทำป้ายนั้นมีหลายแบบ เริ่มตั้งแต่งานพิมพ์ แบ่งออกตามวัสดุที่นำมาใช้พิมพ์ คือ พิมพ์ไนล่อน (Nylon Printed Label) พิมพ์ซาติน (Satin Printed Label) และพิมพ์คอตตอน (Cotton Printed Label) ตลอดจนการทอ ทอธรรมดาเป็นการทอป้ายลงบนชิ้นผ้าที่ต้องการ การทอป้ายลงบนผ้าซาตินที่จะช่วยเพิ่มความเงางามของชิ้นงาน การทอป้ายแบบยกพื้นคือโลโก้จะมีความนูนขึ้นมาจากชิ้นผ้า และการทอป้ายแบบดาร์มาร์ค เป็นการทอขึ้นทั้งป้ายและตัวอักษร ชิ้นงานมีความละเอียด คมชัด และคงทน