ทำไมหน้ากากอนามัยถึงป้องกันโรคได้

ทำไมหน้ากากอนามัยถึงป้องกันโรคได้?

จริงๆแล้วหน้ากากอนามัยมีหลายชนิด ปกติที่เราพบเห็นกันทั่วไปคือ หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ (Surgical Mask) แบบสีเขียว ซึ่งมี 2 ด้าน คือ สีเขียวและสีขาว เวลาสวมใส่เราจะนำด้านที่เป็นสีเขียวหันออกด้านนอก และด้านสีขาวหันเข้าด้านในแนบกับใบหน้า เนื่องจากด้านนอกที่เป็นสีเขียวมีสารเคลือบเพื่อกันน้ำ ทำให้น้ำไม่สามารถซึมเข้ามาได้ หรือหากมีสารคัดหลั่งจากการไอ จาม ลอยมาก็จะไม่ซึมเข้ามาสัมผัสตัวเรา ส่วนด้านในที่เป็นสีขาว จะมีคุณสมบัติในการดูดซับน้ำ ของเหลว ละอองไอจากตัวเรา ซึ่งหากเราป่วย เชื้อโรคจะถูกเก็บไว้ในส่วนนี้ ไม่ซึมออกไปด้านนอกซึ่งมีสารกันน้ำอยู่ หากใส่หน้ากากอนามัย ข้างนอกก็จะเข้ามาไม่ได้ ข้างในก็จะถูกดูดซับอยู่ในนั้น ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้หน้ากากอนามัยป้องกันโรคต่างๆได้ ดังนั้น หน้ากากผ้าที่มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับหน้ากากอนามัย คือ หน้ากากผ้าที่ด้านนอกสามารถกันน้ำได้ และด้านในสามารถอุ้มของเหลวได้

หน้ากากอนามัยใช้แล้วทิ้งจะมี 3 ชั้น

  1. ชั้นใน: ใช้ดูดซับน้ำ วัสดุนุ่ม
  2. ชั้นกลาง: ใช้กรองเชื้อโรค
  3. ชั้นนอกสุด: ป้องกันไม่ให้น้ำซึมเข้า